วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ประโยชน์การเต้นแอโรบิค

การเต้นแอโรบิคอย่างเพียงพอและฝึกเป็นประจำสม่ำเสมอจะมีผลดีต่อร่างกายดังนี้
  1. ระบบกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น สามารถเกร็งและคลายตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการทำงานที่สมดุลกัน และทำให้รูปร่างสวยงามสมส่วนขึ้น เพราะว่าไขมันที่มาห่อหุ้มร่างกายอยู่ได้ถูกนำไปใช้เผาผลาญเป็นพลังงานนอกจากนั้นยังจะช่วยทำให้มีการสะสมสารต้นกำเนิดพลังงานและสารที่เกี่ยวข้องคือไกลโคลเจน เกลือแร่ ฯลฯ อีกด้วย
  2. ระบบกระดูก ทำให้ข้อต่อและระบบประสาทสั่งงาน ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. ระบบการไหลเวียนของโลหิต ทำให้หัวใจแข็งแรงขึ้น การสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ดีขึ้น หลอดเลือดต่างๆ มีความยืดหยุ่นดีขึ้น สามารถช่วยเพิ่มปริมาณและคุณภาพของเม็ดเลือดแดง นอกจากนี้ยังจะช่วยทำให้ชีพจรและความดันโลหิตกลับเข้าสู่สภาพปกติได้อีกด้วย
  4. ระบบการหายใจ ช่วยให้ทางเดินหายใจ ปอด และ กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรงขึ้น
  5. ระบบเผาผลาญอาหารในร่างกาย ช่วยเพิ่มอัตราความเร็วของขบวนการเผาผลาญอาหารให้เป็นพลังงานของร่างกาย ช่วยทำลายเซลเสื่อมสภาพต่าง ๆ เพื่อเร่งให้ร่างกายสร้างเซลใหม่ๆ ขึ้นมาแทนที่ นอกจากนี้ ยังช่วยระบบย่อยอาหารให้ทำงานดีขึ้น นอนหลับสบาย เมื่อตื่นขึ้นจะรู้สึกกระปรี้กระเปร่า ทำงานได้อย่างกระฉับกระเฉง
  6. ระบบควบคุม ช่วยทำให้ร่างกายปรับสมดุลของระบบประสาทอัติโนมัติและระบบต่อมไร้ท่อ ทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนต่างๆ ออกมาอย่างเป็นปกติ
  7. การทำงานร่วมกันของกล้ามเนื้อและระบบประสาท ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดของกล้ามเนื้อและเส้นประสาทสำหรับผู้ที่เคร่งเครียดกับการทำงานหนัก
  8. บุคลิค การเคลื่อนไหว และการจัดระเบียบร่างกาย ทำให้ควบคุมร่างกายได้ดีขึ้น ร่างกายโดยรวมมีความอ่อนตัว และเคลื่อนไหวได้คล่องแคล่วขึ้น ทำให้อารมณ์เบิกบานและจิตใจแจ่มใส มีสง่าราศี
  9. ร่างกายจะหลั่งสารเอ็นโดฟีน ซึ่งก่อให้เกิดความสุข เพราะว่าขณะออกกำลังกาย อย่างมีความสุข ไร้การแข่งขัน จึงไม่มีความเครียด ซึ่งต่างกับการออกกำลังกายที่เน้นการแข่งขัน การออกกำลังกายที่เน้นการแข่งขัน ร่างกายจะหลั่งสารคนละตัว มีชื่อว่า อดีนาลีน ซึ่งตัวนี้ จะก่อให้เกิดความเครียด ผลของการออกกำลังกายจะต่างกัน รูปร่างหน้าตาจะสดใสต่างกัน

เต้นแอโรบิค

เป็นการผสมผสานของท่ากายบริหาร, การเคลื่อนไหวเบื้องต้น และจังหวะการเต้นรำมาประกอบกับเสียงดนตรี โดยจัดความหนักเบาให้ต่อเนื่องเหมาะสมกับท่าเต้น ซึ่งแบ่งออกเป็น
......การเต้นแอโรบิคแบบไม่มีแรงกระแทก : โดยที่เท้าทั้งสองติดพื้น เช่น การยืนย่อ หรือ ท่านั่งท่านอน เหมาะสมกับทุกเพศทุกวัย และผู้สูงอายุและผู้มีน้ำหนักตัวเกิน
.....การเต้นแอโรคบิคแบบมีแรงกระแทกต่ำ : โดยที่เท้าข้างหนึ่งติดพื้น เหมาะสำหรับทุกเพศ ทุกวัยและผู้สูงอายุ และผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน
.....การเต้นแอโรบิคที่มีแรงกระแทกสูง : โดยที่มีเท้าทั้งสองลอยจากพื้น การเต้นชนิดนี้มีอัตราการเสี่ยงจากการบาดเจ็บข้อเข่า ข้อเท้าสูง เนื่องจากมีแรงกระแทกมากกว่าสามเท่าของน้ำหนักตัว การเต้นชนิดนี้ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาของข้อเข่า ข้อเท้า น้ำหนักตัวเกิน ผู้สูงอายุและผู้มีร่ากายไม่แข็งแรง
.....การเต้นแอโรบิคแบบสลับแรงกระแทก : ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างการเต้นแอโรบิคแบบที่ 1, ที่ 2, และที่ 3 เข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดความสนุนสนานเร้าใจมีความปลอดภัยสูง พัฒนาไปในทางที่ดี และมีสมรรถภาพเพิ่มขึ้นเหมาะสำหรับคนที่เคยผ่านการเต้นแอโรบิคมาแล้ว และกำลังเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน

การออกกำลังกายแบบแอโรบิค

.....ขั้นตอนที่ 1 ก่อนออกกำลังกายต้องมีการอบอุ่นร่างกาย เพื่อทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นทีละน้อยเป็นการค่อย ๆปรับร่างกายให้ทำงานเพิ่มขึ้นจะเป็นการเดินหรือกายบริหารง่าย ๆ ประมาณ 3-5นาที
.....ขั้นตอนที่ 2 เริ่มเพิ่มการออกกำลังกายให้มากขึ้นโดยใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที ซึ่งในขั้นตอน นี้ความหนักเบาของการออกกำลังกายจะต้องกำหนดให้เหมาะสมกับความแข็งแรงของร่างกายแต่ละคน โดยยึดหลักความเหนื่อยตามความเร็วของการเต้นหัวใจ
.....ขั้นตอนที่ 3 ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้าย ก็คือ การผ่อนคลายร่างกาย หลังจากที่ออกกำลังกายกายมาระยะหนึ่งแล้วไม่ควรหยุดทันทีเพราะอาจทำให้เลือดไหลกลับไปเลี้ยงหัวใจไม่ทัน อาจทำให้ช็อคหรือเสียชีวิตได้ ควรผ่อนร่างกายด้วยการเดินหรือการบริหารเบา ๆ เพื่อปรับปรุงอุณหภูมิในร่างกาย อาจจะใช้เวลาประมาณ 3-5 นาที

กิจกรรมแบบแอโรบิค2


  • ว่ายน้ำ (swimming) เหมาะสำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากและผู้มีปัญหาของข้อต่อต่างๆ สำหรับผู้ที่ว่ายน้ำไม่เป็นอาจทำกายบริหารในน้ำ

  • เต้นแอโรบิค (aerobic dance) เป็นการผสมผสานของท่ากายบริหาร, การเคลื่อนไหวเบื้องต้น และจังหวะการเต้นรำมาประกอบกับเสียงดนตรี โดยจัดความหนักเบาให้ต่อเนื่องเหมาะสมกับท่าเต้น ซึ่งแบ่งออกเป็น
  • การเต้นแอโรบิคแบบไม่มีแรงกระแทก โดยที่เท้าทั้งสองติดพื้น เช่น การยืนย่อ หรือ ท่านั่งท่านอน เหมาะสมกับทุกเพศทุกวัย และผู้สูงอายุและผู้มีน้ำหนักตัวเกิน

กิจกรรมแบบแอโรบิค1


  • เดินเร็ว (walking) เหมาะสำหรับคนทุกเพศ ทุกวัย การเดินที่ดี ควรเดินก้าวเท้ายาวๆ และแกว่งแขนแรงระยะเริ่มควรใช้เวลาประมาณ 15 – 30 นาที ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพเดิมของแต่ละคน เมื่อร่างกายแข็งแรงขึ้นแล้ว จึงเพิ่มเวลาเดินให้มากขึ้นเป็น 1 ชั่วโมง หรือมากกว่านั้น



  • วิ่งเหยาะ (jogging)เป็นการออกกำลังกายแบบอากาศนิยม (แอโรบิค) ชนิดหนึ่งที่ทำได้ง่ายเพราะไม่มีเทคนิคที่ซับซ้อนเพียงแต่มีรองเท้าผ้าใบหรือรองเท้าวิ่งเพื่อกันแรงกระแทก ท่าวิ่งควรเป็นธรรมชาติไม่เกร็งเวลาลงเท้าใช้ส้นเท้าสัมผัสพื้นก่อนจึงวางเท้าเต็มแล้วยกส้นเท้าขึ้น เข่าไม่ยกสูงมาก เพราะไม่เหยียดตรง งอเข่า และข้อศอก ศีรษะตั้งตรง กำมือหลวมๆ การวิ่งแตกต่างจากการเดินคือ การเดินจะมีเท้าใดเท้าหนึ่งสัมผัสพื้นตลอดเวลา ส่วนการวิ่งจะมีช่วงหนึ่งพ้นจากพื้น

  • ถีบจักรยาน (biking) เหมาะสำหรับผู้มีปัญหาเรื่องเข่า ข้อเท้าและผู้มีน้ำหนักตัวมาก เพราะลดแรงกระแทกจากน้ำหนักตัว

องค์ประกอบของแอโรบิค

.........ความหนัก ไม่หนักมากจนทำติดต่อกันเกิน 5 นาที ไม่ได้ แต่ก็ไม่เบาจนไม่รู้สึกเหนื่อยเลย ถ้าสามารถนับชีพจรตนเองขณะออกกำลังกายได้ต่อ 1 นาที ชีพจรจะอยู่ระหว่าง 150 – อายุ ถึง 190 – อายุ (ทางปฏิบัติจะนับเมื่อหยุดออกกำลังทันทีและนับเพียง 10 วินาทีแล้ว คูณด้วย 6)
..........ความนาน โดยทั่วไปถือว่าการปฏิบัติวันละ 10 นาที 6 ครั้ง/สัปดาห์ จะได้ผลสมรรถภาพแอโรบิคที่ดี แต่จะให้ได้ผลดีเต็มที่ ควรทำถึงวันละ 20 – 30 นาที โดยนับรวมแล้ว ไม่ต่ำกว่า 60 นาทีต่อสัปดาห์
..........ความบ่อย อย่างน้อย 2 – 3 ครั้ง/สัปดาห์ (ขึ้นกับความนาน)

แอโรบิค Aerobic

"แอโรบิค" หรือแปลตามศัพท์ได้ว่า "โดยใช้ออกซิเจน" เป็นกิจกรรมที่ทำให้คุณหายใจเข้า - ออกเป็น จังหวะสม่ำเสมอซึ่งช่วยให้ออกซิเจนถูกส่งไปทั่วร่างกายอย่างรวดเร็ว การออกกำลังกายจะกระตุ้นร่างกายใช้พลังงานจากกระบวนการสันดาปออกซิเจนเพิ่มขึ้นกว่าภาวะปกติจนสามารถกระตุ้นให้เกิดการพัฒนใน อวัยวะต่างๆ ที่ใช้ในการดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข ได้แก่ หัวใจ หลอดเลือด ปอด ข้อต่อกระดูก และกล้ามเนื้อ เป็นต้น การออกกำลังกายแบบแอโรบิค จัดเป็นการบริหารร่างกายที่ใช้กล้ามเนื้อเฉพาะส่วน โดยเฉพาะแขน–ขา ให้ เคลื่อนไหวติดต่อกันเป็นจังหวะสม่ำเสมอและต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานๆ ประมาณ 20 นาทีขึ้นไปแต่ไม่เกิน 1 ชั่วโมง